top of page
BIPAM 2021 Talks button.jpeg
BIPAM 2021 Special Events button.jpeg
BIPAM 2021 Program button.jpeg
BIPAM 2021 Showcases banner.jpeg
Top
BIPAM 2021 divider strip.jpg


‘ B O R R O W ’
By Dujdao Vadhanapakorn
 


‘ B O R R O W ’
โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์
 

Borrow photo credit Rinrada Pornsombutsatien.jpeg
Borrow photo credit Rinrada Pornsombutsatien.jpeg

 

 

What I am, and the things I hold dear... do they come from me, or are they borrowed from someone else?

‘ B O R R O W ’ is an experimental performance where human nature is allowed into the art space and reduces the artificiality of performance. The show is based on the question of what things we fully own in our body, and what things are borrowed from others who helped shape us.

The piece is a continuation of her previous work “Humanimal” in 2019. The concept of ‘ownership’ is also derived from another of her work “Afterlight” in 2018. This performance features two pairs of participants that have a close relationship.

Dujdao Vadhanapakorn is widely known for being a host of the Standard podcast show called ‘R U OK’ podcast, which talks  about mental health. She is a performing artist with a background in movement-based therapy. The human psyche is therefore her main core in her works. She is also interested in creating audience experiences through designs that invoke psychological experiences and a performance full of mental delicateness.
 

The online performance will begin the premiere on 1 September 2021, 7.30 pm (GMT+7). Recording available for online viewing after the live performances until 12 September, 12am (GMT+7)
 

Duration 90 minutes

 

 

ก็เพราะสงสัยว่าสิ่งที่เป็น_อยู่_คือ และทุกสิ่งที่ถือนั้นถือกำเนิดมาจากตัวฉันหรือตกทอดมาจากใคร

เรื่อง ‘ B O R R O W ’ เป็นการแสดงรูปแบบทดลองที่จะเปิดพื้นที่ให้ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ได้อยู่ในพื้นที่ศิลปะและลดทอนการประดิษฐ์ประดอยในการแสดง โดยสมมติฐานของการแสดงคือการตั้งคำถามว่ามีอะไรในตัวเราบ้างที่เราเป็นเจ้าของอย่างเบ็ดเสร็จ และมีอะไรมากน้อยแค่ไหนที่เรายกยืมมาจากคนที่มีอิทธิพลในการก่อร่างสร้างตัวเรา 

รูปแบบการแสดงนี้ต่อยอดมาจากงานของดุจดาวชื่อ Humanimal หรือสัตว์มนุษย์ จัดแสดงเมื่อปี 2019 และประเด็น Ownership นั้นต่อยอดมาจากงานชื่อ Afterlight เมื่อปี 2018 งานชิ้นนี้ได้รับเกียรติจากผู้เข้าร่วมที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดมาร่วมถ่ายทอด 

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เป็นที่รู้จักในวงกว้างจากบทบาทพิธีกรพอดแคสต์ R U OK ทาง The Standard Podcast พอดแคสต์ที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางใจ และอีกหนึ่งบทบาทสำคัญ คือ การศิลปินศิลปะการแสดง ด้วยแบคกราวน์ด้านจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว ประเด็นเรื่องจิตวิทยาของมนุษย์จึงเป็นแก่นหลักในการสร้างผลงานของเธออยู่เสมอๆ เธอสนใจการสร้างประสบการณ์ของผู้ชมผ่านการออกแบบพื้นที่ที่สร้างประสบการณ์ทางใจและการออกแบบการแสดงที่เต็มไปด้วยความละเอียดอ่อนทางจิตใจ 


เปิดให้เข้าชมรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 19.30 น.
และหลังจากเปิดให้เข้าชมวันแรก ผู้ชมจะเข้าดูได้ถึงวันที่ 12 กันยายน เวลา 24.00 น.

ความยาว 90 นาที

Borrow


Deleted Scenes in SEA
A collaboration by BIPAM and IDRF
 


Deleted Scenes in SEA
โดย BIPAM ร่วมกับ IDRF
 

Deleted Scenes showcase poster.jpeg
Deleted Scenes showcase poster.jpeg

 

 

Excerpts from 3 performances of Southeast Asia - never before seen due to censorship - will be read out loud in a foreign tongue as a public performance for the first time here.

BIPAM in association with Indonesian Dramatic Playreading Festival (IDRF) presents a play reading of censored parts in 3 plays from 3 countries, whether it is caused by government sanction or self-censorship: 

"INSURGENCY",  is one of the 10 scenes (the first scene) in the banned play "SMEGMA" by Elangovan, Singapore. His three works have been banned because of their sensitive content and this is one of them. 

“Suksesi” by Nano Riantiarno, Indonesia. It was written in 1990 and was banned after ten performances. 

“History Class” written by Prajak Kongkirati for the project “What We Talk About When We Don’t Talk About the Elephant in the Room” by Wichaya Artamat, Thailand, where the entire scene was opted out, leaving behind only a small modified part by the director that looked nothing like the original.

The three excerpts will be translated and read in a transnational and transcultural context, in order to explore the thoughts, meanings, and necessities of censorship in different contexts. Curated translation by ซอย soi
 

The online performance will premiere on 2 September 2021, 1.30pm (GMT+7) Afterwards, on-demand viewing will be available until 12 September, 12am (GMT+7). 

 

Duration 60 minutes

 

 

‘บางตอนของบทจาก 3 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหน’ เพราะโดนเซ็นเซอร์จะถูกอ่านออกเสียงในภาษาอื่นเป็นครั้งแรกที่นี่ !

BIPAM ร่วมกับ Indonesian Dramatic Playreading Festival (IDRF) นำเสนอการแสดงแบบอ่านบท (Playreading) จากบทหนึ่งตอนที่ถูกเซ็นเซอร์ไม่ว่าจะด้วยรัฐหรือศิลปินเซ็นเซอร์ผลงานตัวเอง


3 เรื่องจาก 3 ประเทศ ได้แก่
 

- "INSURGENCY"  ฉากนี้เป็นฉากเเรกจาก 10 ฉากของบทละครที่ถูกแบนเรื่อง “SMEGMA” ของ Elangovan (ประเทศสิงคโปร์) เขาเป็นนักเขียนบทที่มักพูดประเด็นอ่อนไหวเสมอ ผลงานของเขาถูกห้ามจัดแสดงถึง 3 เรื่อง และเรื่องนี้คือ 1 ในนั้น 

- “Suksesi” ของ Nano Riantiarno (ประเทศอินโดนีเซีย) เขียนขึ้นในปี 1990 การแสดงเรื่องนี้ถูกสั่งให้หยุดแสดงหลังจากจัดแสดงมาแล้ว 10 รอบ 

- “ห้องเรียนประวัติศาสตร์” เขียนโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ สำหรับการแสดง “ไม่มีอะไรจะพูด” ของวิชย อาทมาท (ประเทศไทย) ตอนจัดแสดงในปี 2560 บทละครทั้งตอนไม่ปรากฏในการแสดง เหลือแต่เพียงส่วนเสี้ยวที่ดัดแปลงแต่งเติมโดยผู้กำกับ

บททั้งสามจะถูกนำมาแปลและถ่ายทอดข้ามประเทศข้ามวัฒนธรรม เพื่อสำรวจความคิด ความหมาย และเหตุผลของการเซ็นเซอร์ในบริบทที่แตกต่าง - คัดสรรการแปลโดย ซอย soi
 

เปิดให้เข้าชมรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 2 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น.
และหลังจากเปิดให้เข้าชมวันแรก ผู้ชมจะเข้าดูได้ถึงวันที่ 12 กันยายน เวลา 24.00 น.

 

ความยาว 60 นาที

Deleted Scenes

 
An Imperial Sake Cup and I
By Dr. Charnvit Kasetsiri,
directed by Teerawat Mulvilai
 


An Imperial Sake Cup and I
โดย ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กำกับการแสดงโดย
ธีระวัฒน์ มุลวิไล
 

Sake Cup showcase poster.jpeg
Sake Cup showcase poster.jpeg

 

 

“An Imperial Sake Cup and I” is a lecture-performance by Dr. Charnvit Kasetsiri, a renowned historian and specialist in Southeast Asia Studies, and recipient of the Fukuoka Academic Prize in 2012.  Charnvit draws a connection between his relationship with the Japanese army in his hometown Nong Pla Duk, Ban Pong, during World War II.  In 1964, Emperor (then Crown Prince) Akihito and his consort officially visited Thailand, and as a junior member of the Bangkok Municipality welcome team, Charnvit was given a royal sake cup, which he has kept ever since. 

In this lecture-performance, he traces personal and micro-narratives to reflect objects and memories as well as his witnessing of the global social transformation from the Japanese presence in Thailand, the Vietnam War, and the 1970s student uprising in Thailand.  He juxtaposes Thailand and Japanese history and subtly unravels the comparison of these two countries.   

 

The online performance will premiere on 2 September 2021, 5 pm (GMT+7).
Afterwards, on-demand viewing will be available until 12 September, 12am (GMT+7).

 

Duration 50 minutes

 

 

ปี 2507 ดร. ชาญวิทย์อายุได้ 23 ปี ในฐานะสมาชิกรุ่นน้องของทีมงานต้อนรับของเทศบาลนครกรุงเทพฯ เขาได้รับมอบถ้วยเหล้าสาเกจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและมเหสีที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ จากถ้วยเหล้าสาเกสู่เรื่องราวส่วนตัวและเรื่องเล่าที่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์กระแสหลัก An Imperial Sake Cup and I ได้เป็นประจักษ์พยานภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกที่มีต่อตัวตนประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย สงครามเวียดนาม และการลุกฮือของนักศึกษาไทยทศวรรษ 1970


An Imperial Sake Cup and I เป็นการแสดงแบบบรรยายโดย ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำงานร่วมกับธีระวัฒน์ มุลวิไล กลุ่มบีฟลอร์เธียเตอร์ และนนทวัฒน์ นําเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์ จัดแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2020 ที่พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยมในโครงการ The Breathing of Maps ในปีนี้ BIPAM นำกลับมาให้ชมอีกครั้งในแบบออนไลน์ เพื่อเปิดบทสนทนาอันเกี่ยวกับศิลปะ ประวัติศาสตร์ เรื่องราวส่วนตัว และวัตถุสิ่งของ
 

เริ่มเปิดให้เข้าชมออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2564 เวลา 17.00 น.
และหลังจากนั้น ผู้ชมจะเข้าดูได้ถึงวันที่ 12 กันยายน เวลา 24.00 น.

 

ความยาว 50 นาที

Sake Cup

 
Pieng Buhn (Wings)
By Makhampom Theatre Group

 
เพียงเบิ่น 
โดย กลุ่มละครมะขามป้อม

Wings showcase poster.jpeg
Wings showcase poster.jpeg

 

 

“The base color represents the sky.

The sparkles represent the stars.

The line in the back represents the horizon.

The large patch up to the neck represents the path to heaven.

The zigzagging steps represent the stairway to heaven.

The dangling bits on the sleeves represent the wings of an angel.”

This is the description of the clothes worn by people of Dara-Ang, as spoken by ‘Kam’, a Dara-Ang woman. 

Kam is not a professional actor, nor has she had prior acting experience. Being a stateless person in Thailand since she was very young, Kam was once arrested in 2004 for forest encroachment, amongst many hardships and injustice in life. Now she is a village committee, as well as chairwoman of the Indigenous Women's Network of Thailand (IWNT). In this piece, Kam works with Makhampom Theatre from Chiang Mai province, in the northern region of Thailand. 

The story of “Pieng Buhn” - meaning “wings” in Dara Ang language - is a story blending the real world and the spiritual world of “angels”. This performance is an open journal of Kam’s experience, starting as a girl who was displaced due to war in Myanmar, took refuge in Thailand, and eventually ended up in another kind of war in which she was seen as “the other”.

 

The online performance will premiere on 2 September 2021, 6.30pm (GMT+7). Afterwards, on-demand viewing will be available until 12 September, 12am (GMT+7)

 

Duration  40 minutes

 

 

“ที่เป็นพื้นของเสื้อ....ก็คือท้องฟ้า ที่วิบวับๆ....คือดวงดาว ด้านหลังเป็นเส้นๆ.....คือเส้นขอบฟ้า

ที่เป็นแผ่นกว้างๆ ยาวถึงคอ...... 

คือถนนขึ้นไปสวรรค์ ลายผ้าถุงเป็นขั้นๆ.... 

คือบันไดเพื่อเดินขึ้นไปสู่บนสวรรค์ ที่เป็นตุ้งติ้งๆ ห้อยที่แขน

คือปีก.....ที่ใช้บินเพราะเราเป็นนางฟ้า” 

บทพูดนี้เป็นคำอธิบายถึงเสื้อผ้าที่ชาวดาราอั้งสวมใส่ ถูกพูดออกมาด้วยเสียงของ “คำ” หญิงชาวดาราอั้ง คำไม่ใช่นักแสดงมืออาชีพ ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการแสดงมาก่อน เธอเคยถูกจับเมื่อปี 2547 ด้วยข้อหาบุกรุกป่าสงวน ปัจจุบัน เธอเป็นกรรมการหมู่บ้านและประธานกลุ่มสตรี ประธานเครือข่ายผู้หญิงชนเผ่าแห่งประเทศไทย งานชิ้นนี้คำได้ร่วมสร้างสรรค์กับกลุ่มละครมะขามป้อม จ.เชียงใหม่ 

เรื่อง “เพียงเบิ่น” ที่มีความหมายว่า “ปีก” เป็นเรื่องราวที่ปนเประหว่างโลกความจริงกับโลกความเชื่อของเผ่าพันธุ์แห่ง “นางฟ้า” เปิดบันทึกประสบการณ์ การเดินทางของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ต้องพลัดถิ่นจากพิษสงครามในพม่า อพยพรอนแรม หนีตายมาฝั่งไทย  แต่กลับต้องผจญกับสงครามแบบใหม่ในนามของความ “เป็นอื่น”

 

เปิดให้เข้าชมรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 2 กันยายน 2564 เวลา 18.30 น.
และหลังจากเปิดให้เข้าชมวันแรก ผู้ชมจะเข้าดูได้ถึงวันที่ 12 กันยายน เวลา 24.00 น.


ความยาว 40 นาที

Wings
BIPAM 2021 divider strip.jpg

 

The 4th Rehearsal

By Wannasak Sirilar and

Pathipon Adsavamahapong


การซ้อมครั้งที่สี่ 
โดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า และ ปฏิพล อัศวมหาพงษ์
 

4th Rehearsal showcase poster.jpg
4th Rehearsal showcase poster.jpg

 

 

Wannasak Sirilar, a veteran artist, and Pathipon Adsavamahapong, an emerging artist, are two artists known for their solo performances where they write, direct and act in their own works.

 

In this showcase of a performance-in-progress, each artist takes turns directing and acting in a play originally written by the other. After three exchange sessions, the audience will witness "The 4th Rehearsal". The two plays used in the exchange process are: Wannasak’s "Chailai Goes to War" (2006), telling the story of a male Ayutthaya spy called Dokrak who has to transform into a woman for an intelligence mission in a Burmese military camp; and Pathipon’s "In the Queer" (2015), a semi-autobiographical solo performance telling the private life story of the artist, and questions self and society from the queer perspective.

 

Witness to the live dialogue between two overlapping times - revealing, crossing, and exchanges of identity, point of view, individuality and gender diversity, both hidden and blatantly displayed, as well as the meaning of ownership that shifts and wavers as each artist and their work change hands.

 

The online performance will premiere on 3 September 2021, 7.30pm (GMT+7). Afterwards, on-demand viewing is available until 12 September, 12am (GMT+7)

Duration 90 minutes

 

 

วรรณศักดิ์ ศิริหล้า ศิลปินรุ่นใหญ่ | ปฏิพล อัศวมหาพงษ์ ศิลปินรุ่นใหม่ ทั้งสองนิยมทำงานในรูปแบบการแสดงเดี่ยวซึ่งเขียนขึ้นเอง และยังชอบที่จะแสดงเอง กำกับเองอีกด้วย 

การแสดงชิ้นนี้เป็นการแสดงกึ่งกระบวนการ ทั้งคู่จะแลกบทที่ตนเคยเขียนขึ้นในต่างเวลาต่างวาระ สลับกันเล่นสลับการกำกับ เมื่อกระบวนการผ่านไป 3 ครั้ง การแสดง ‘การซ้อมครั้งที่สี่’ จึงเกิดขึ้น บทละคร 2 เรื่องที่นำมาใช้คือ “ไฉไลไปรบ” (2006) โดย วรรณศักดิ์ ศิริหล้า เป็นเรื่องราวของสายลับสมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อ นายดอกรักที่ต้องแปลงกายเป็นผู้หญิงไปสืบข่าวในค่ายทหารพม่า อีกเรื่องคือ “In The Queer” (2015) โดย ปฏิพล อัศวมหาพงษ์ บทละครกึ่งอัตชีวประวัติที่ศิลปินตั้งคำถามกับตัวตนและสังคมผ่านมุมมอง Queer

ผู้ชมจะได้เห็นบทสนทนาจากสองกาลเวลาที่ซ้อนทับกัน อันอาจสะท้อนตัวตน ความคิดเห็น ความเป็นปัจเจก และประเด็นเพศวิถีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะซ่อนอยู่อย่างเเนบเนียนหรือเปิดเผยอย่างโฉ่งฉ่าง รวมถึงความหมายของความเป็นเจ้าของที่เคลื่อนออกเมื่อเปลี่ยนมือไป

 

เปิดให้เข้าชมรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 19.30 น.
และหลังจากเปิดให้เข้าชมวันแรก ผู้ชมจะเข้าดูได้ถึงวันที่ 12 กันยายน เวลา 24.00 น.
 

ความยาว ประมาณ 90 นาที

4th Rehearsal
BIPAM 2021 divider strip.jpg

 
A Perfect Conversation: Oh Ode x Blunt Knife Google Doc Jam
By Sasapin Siriwanij (Pupe)
& Eng Kai Er
 

 
A Perfect Conversation: Oh Ode x Blunt Knife Google Doc Jam
โดย ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์
และ Eng Kai Er
 

A Perfect Conversation showcase poster.jpeg
A Perfect Conversation showcase poster.jpeg

 

 

In “A Perfect Conversation: Oh Ode x Blunt Knife Google Doc Jam”, two artists invite you to write, read, watch videos; speak, listen, bear witness; confront, retreat, and play together. The performance starts on Zoom, then travels to Google Doc and YouTube. It draws on previous works by each of the artists - “Oh! Ode” (2017) by Sasapin Siriwanij and “Blunt Knife” (2019) by Eng Kai Er. The performance is a space where memories are re-visited, opinions are questioned, and the political and personal nature of previous performances are given a closer look. In wild cyberspace, with equal parts retrospection and curiosity, the two artists together with audiences attempt to make the conversation as ‘perfect’ as possible.

 

Two live online performances on 4 and 5 September 2021, 3pm (GMT+7).
Afterwards, the recording of the show will be available for on-demand viewing until 12 September, 12am (GMT+7)
 

Duration 80 minutes

 

 

A Perfect Conversation: Oh Ode x Blunt Knife Google Doc Jam เป็นการแสดงสดแบบเรียลไทม์บนพื้นที่ออนไลน์ ได้แก่ Google Doc และ Youtube โดยศิลปินหญิง 2 ท่าน ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ ศิลปินและ Artistic Director ของ BIPAM เจ้าของผลงาน “Oh! Ode” (2017) และ Eng Kai Er ศิลปินชาวสิงคโปร์ซึ่งพำนักอยู่ที่เยอรมนี เจ้าของผลงานเรื่อง “Blunt Knife” (2019) จะชวนคุณมาเขียน อ่าน ดูวีดิโอ ร่วมฟัง สนทนา รู้เห็นเป็นพยาน “การเผชิญหน้าและล่าถอย” การแสดงนี้เป็นพื้นที่ที่ความทรงจำจะถูกกลับไปเยี่ยมเยียน ความเห็นจะถูกตั้งคำถาม การเมืองและความเป็นธรรมชาติของการแสดงที่ผ่านมาจะถูกมองอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ในโลกออนไลน์ที่แสนวุ่นวาย ศิลปินทั้งสองพร้อมกับผู้เข้าชมจะทำให้การสนทนาครั้งนี้ “สมบูรณ์แบบ” ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

การแสดงสดออนไลน์ 2 รอบการแสดง วันที่ 4 - 5 กันยายน 2564 เวลา 15.00 น.
และหลังจากนั้นผู้ชมสามารถเข้าดูบันทึกการแสดงได้ถึงวันที่ 12 กันยายน เวลา 24.00 น.

 

ความยาว 80 นาที

Perfect Conversation
BIPAM 2021 divider strip.jpg
bottom of page