top of page

Book Your Tickets          Performances         Talks & Workshops         Tables         Routes         Explorer Pass         Networking         Free Program

BIPAM Performances

INTERMISSION

by Thanapol Virulhakul / ธนพล วิรุฬหกุล

Stuck in the state-enforced past and unable to see the future of his own country, Thanapol proposes ‘Thai postmodern dance’ as a way to navigate Thailand’s socio-political power structure that infiltrates all areas of a citizen’s life - and dance is not an exception. With Champa Saenprom and Vidura Amranand, the pair whose impossible artistic encounter captivated the crowd at BIPAM2018, Thanapol crafts the inexistent dance movement in Thailand’s dance history where the traditional, the vernacular, and the contemporary meet, collide, interrupt, intersperse, and transform. This production is a commissioned work from three SEA performing art platforms: BIPAM, Singapore International Festival of Arts, and George Town Festival. Date & Time: 22 March(18.30 PM) 23 March (17.00, 20.00 PM) Time: 60 minutes Venue: Goethe-Institut Auditorium, Sathorn Language: No dialogue (partial texts in Thai) Subtitles: English About the Director: Since 2013, Thanapol Virulhakul has been co-artistic director of the Democrazy Theatre Studio in Bangkok. Past works include Hipster the King (2014), which received three awards from the Thai Centre of the International Association of Theatre Critics and toured Germany and Japan; Girl X (2015), a collaboration with Suguru Yamamoto from Hanchu Yuei (Japan); and Happy Hunting Ground (2016), a co-production with Badisches Staatstheater Karlsruhe (Germany). He is still working on how the body in a work of art can create political tensions between people. He uses specific circumstances and models in various forms as a choreographic approach to challenge the personal mythology of spectators formed by different contexts and models embodied in everyday life. Credits: Director/Choreographer : Thanaphol Virunhakul Performer : Vidura Amranand, Champa Saenprom Rehearsal Director : Paopoom Chiwarak Production Designer/Lighting Designer : Duck Unit Sound Designer : Chanapon Komkham Music Advisor : Gandhi Wasuvitchyagit Costume Designer : Nicha Puranasamriddhi Graphic Designer : Rueangrith Suntisuk Production manager : Peerapol Kijreunpiromsuk ________________________ ในภาวะติดค้างอยู่ในอดีตที่ถูกยัดเยียดจากการบริหารของรัฐบาลจนไม่สามารถมองเห็นอนาคตในประเทศของตนได้ ธนพลจึงนำเสนอการเต้นรำ ‘โพสต์โมเดิร์น’ ของไทยเพื่อเล่าถึงโครงสร้างอำนาจการเมืองสังคมที่แทรกซึมอยู่ทุกอณูของชีวิตพลเมือง ไม่เว้นแม้กระทั่งการเต้น จำปา แสนพรมและวิทุรา อัมระนันทน์ ครูซอล้านนาและนักเต้นร่วมสมัยที่เคยสร้างความประทับใจคู่กันมาแล้วใน BIPAM2018 มาพบกันอีกครั้งในการสร้างสรรค์ของธนพล ที่บรรจงสร้างท่วงท่าการเต้นที่ไม่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ไทย INTERMISSION เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมประเพณี ความเป็นพื้นบ้าน และความร่วมสมัยได้มาหลอมรวม แทรกแซง กระจายตัว และแปรสภาพ การแสดงชิ้นนี้เป็นงานร่วมสร้างจาก 3 เทศกาลศิลปะการแสดงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัยนานาชาติ BIPAM, เทศกาลศิลปะนานาชาติสิงคโปร์ (Singapore International Festival of Arts) และ เทศกาลจอร์จทาวน์ เมืองปีนัง (George Town Festival) วันและเวลาแสดง: 22 มีนาคม(18.30 น.) 23 มีนาคม(17.00 น. และ 20.00 น.) ระยะเวลา: 60 นาที สถานที่จัดแสดง: ห้องประชุมสถาบันเกอเธ่ สาทร ภาษา: การแสดงเน้นการเคลื่อนไหว มีบทพูดไทยบางส่วน Subtitle: อังกฤษ เกี่ยวกับผู้กำกับ: นับตั้งแต่ปี 2013 ธนพล วิรุฬหกุล ได้เป็น Artistic Director ร่วมของ Democrazy Theatre Studio ในกรุงเทพฯ ผลงานล่าสุดนั้นรวมไปถึง Hipster the King (2014) ซึ่งได้รับ 3 รางวัลจากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง และได้เดินทางไปยังประเทศเยอรมันนีและญี่ปุ่น Girl X (2015) เป็นผลงานที่ทำร่วมกับ สุงุรุ ยามาโมโตะจากประเทศญี่ปุ่น และ Happy Hunting Ground (2016) และทำโปรดักชั่นร่วมกับโรงละครโอเปร่า Badisches Staatstheater Karlsruhe ประเทศเยอรมนี เขายังคงหาวิธีว่าร่างกายในงานศิลปะจะสามารถสร้างแรงกดดันทางการเมืองระหว่างผู้คนได้อย่างไร เขาใช้สภาพแวดล้อมและตัวอย่างหลาย ๆ รูปแบบมาสร้างท่วงท่าในการสื่อสาร เพื่อที่จะท้าทายความเชื่อส่วนตัวของคนดูที่ถูกหล่อหลอมด้วยบริบทต่าง ๆ และคติที่ฝังลึกอยู่ในชีวิตประจำวัน รายชื่อทีมงาน: กำกับและออกแบบลีลา: ธนพล วิรุฬหกุล นักแสดง: จำปา แสนพรม, วิทุรา อัมระนันทน์ กำกับการซ้อม: เผ่าภูมิ ชิวารักษว์ ออกแบบโปรดักชั่น/ออกแบบแสง: Duck Unit ออกแบบเสียง: ชนะพล คมขำ ที่ปรึกษาด้านดนตรี: คานธี วสุวิชย์กิต ออกแบบเครื่องแต่งกาย: ณิชา บูรณะสัมฤทธิ์ ออกแบบกราฟิก: เรืองฤทธิ์ สันติสุข จัดการโปรดักชั่น: พีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข

A Notional History

by Mark Teh / มาร์ก เท

In 'A Notional History', a performer, a journalist, and an activist excavate school textbooks, inherited memories, and video interviews of exiled revolutionaries – uncovering erasures, exclusions and questions around the Malayan Emergency. They investigate and speculate on the possible histories for a different Malaysia, intersecting the personal, the national, and the notional. This documentary performance responds to a critical moment in Malaysia – the publishing of new, official history textbooks - following the 2018 general elections where citizens voted in a new government after 61 years. A Notional History has been performed in Jakarta, Kuala Lumpur, Brussels, Georgetown (Penang), and again in Yokohama in 2022. Curated alongside other performances in BIPAM 2023, its correlation will start a conversation about Southeast Asia in contemporary times. Date & Time: 24 March( 20.00 PM) 25 March(18.00 PM) 26 March(18.00 PM) Time: 75 minutes Venue: Gallery, TCDC Language: English and Bahasa Malaysia Subtitles: Thai, English About the Director: Mark Teh is a performance maker, researcher, and curator based in Kuala Lumpur. His diverse, collaborative projects take on documentary, speculative and generative forms, and address the entanglements of history, memory and counter-mapping. Mark graduated with an MA in Art and Politics from Goldsmiths, University of London, and he is a member of Five Arts. Credits: Director: Mark Teh Production Designer: Wong Tay Sy Lighting Designer: Syamsul Azhar Performers: Fahmi Reza, Faiq Syazwan Kuhiri, Rahmah Pauzi Stage Manager: Armanzaki Azrs Producer: June Tan Executive Producer: Five Arts Centre (Malaysia) Co-produced by: TPAM - Performing Arts Meeting in Yokohama (Japan) ________________________ นักเคลื่อนไหว นักข่าว และนักแสดงได้ร่วมกันขุดค้นหนังสือประวัติศาสตร์ ความทรงจำที่ถูกส่งต่อ และวิดีโอสัมภาษณ์นักปฏิวัติที่ถูกเนรเทศในการแสดงเชิงสารคดีเรื่องนี้ เพื่อเปิดเผยเรื่องราวที่ถูกลบเลือน ตัดออก และข้อกังขาเกี่ยวกับวิกฤตการณ์มาเลย์ พวกเขาได้สืบค้นและคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของ​ “ประวัติศาสตร์มาเลเซียที่ต่างออกไป” ด้วยการผสมผสานระหว่าง ความเป็นส่วนตัว ความเป็นชาติ และความคลุมเครือ การแสดงเชิงสารคดีชิ้นนี้สร้างขึ้นเพื่อตอบโต้การจัดพิมพ์หนังสือประวัติศาสตร์ฉบับทางการเล่มล่าสุดและตามมาด้วยการเลือกตั้งปี 2018 ที่พรรค Barisan Nasional พรรคที่บริหารประเทศมากว่า 61 ปี ไม่ได้รับเลือก A Notional History เดินทางจัดแสดงมาแล้วในหลายเมือง ทั้งจาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ บรัสเซลล์ จอร์จทาวน์(ปีนัง) และโยโกฮามาในปี 2022 BIPAM คัดสรรการแสดงชิ้นนี้เพื่อจัดวางเทียบเคียงกับการแสดงชิ้นอื่นๆ ในเทศกาลเพื่อสร้างบทสนทนาถึงความเป็นไปในสังคมร่วมสมัยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วันเวลาจัดแสดง: 24 มีนาคม(20.00 น.) 25 มีนาคม(18.00 น.) 26 มีนาคม(18.00 น.) ระยะเวลา: 75 นาที สถานที่จัดแสดง: ห้องแกลลอรี่ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (TCDC) ภาษา: อังกฤษ, มาเลย์ Subtitles: ไทย, อังกฤษ เกี่ยวกับผู้กำกับ: มาร์ค เท เป็นนักสร้างการแสดง นักวิจัย และคิวเรเตอร์จากกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ผลงานของเขามักกล่าวถึงกล่าวถึงประเด็นทางประวัติศาสตร์อันซับซ้อน ความทรงจำ และการมองมุมกลับ มาร์คจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านศิลปะและการเมืองจากมหาวิทยาลัยโกลด์สมิธส์แห่งกรุงลอนดอน และเขายังเป็นสมาชิกของกลุ่ม Five Arts อีกด้วย รายชื่อทีมงาน: ผู้กำกับ: Mark Teh ออกแบบโปรดักชั่นr: Wong Tay Sy ออกแบบแสง: Syamsul Azhar นักแสดง: Fahmi Reza, Faiq Syazwan Kuhiri, Rahmah Pauzi กำกับเวที: Armanzaki Azrs โปรดิวเซอร์: June Tan อำนวยการผลิต: Five Arts Centre (Malaysia) ร่วมผลิตโดย TPAM - Performing Arts Meeting in Yokohama (Japan)

And My Heart Almost Stood Still

by Ari Teperberg

From the letter of Helen Keller , a deaf-blind author and intellectual, expressing her appreciation after "listening" to Beethoven's 9th symphony, to a solo performance by the Israeli emerging artist Ari Teperberg. We are granted a close-up look into the performer’s body, which calibrates himself to hypersensitivity, seeking desperately for an alternative language to communicate by, beyond boundaries, disability and loneliness. On this uncommon ground, Can we grow deaf and blind together? Date & Time: 24 March(18.00, 20.00 PM) 25 March(20.00 PM) Venue: Function Room, 4th Fl., TCDC Language No dialogue, a few reading notes in English with Thai translation About the Creator Born in Jerusalem 1989, Teperberg is a multi-disciplinary artist, who takes part in projects of various artistic mediums - theatre, dance, opera, object-theatre, performance art, sound, video. As a maker, his works have been performed successfully around Israel and abroad. In 2014 he won the ‘Stage Language’ prize at the Akko Festival, for “I Want to Dance, Kate!” and is the recipient of the Jerusalem Foundation Prize, 2011, and the Rosenblum Prize for young artist, 2022. Credits: Maker, performer: Ari Teperberg Co-performer: Gal Hochberg Musician, creation partner: Avshalom Ariel Sound design, creation partner: Tomer Damsky Lighting design and scenography: Omer Sheizaf / lighting adaptations: Oded Komemi Costumes: Dor Frank International Tours: as is presenting arts Photo: Yair Meyuhas / Image design: Harel and Maayan Studio The piece is a co-production with Westfluegel Theatre in Leipzig, Germany and the Independent Theatre Makers' Association in Israel ________________________ การแสดงเดี่ยวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากจดหมายฉบับหนึ่งจากเฮเลน เคลเลอร์ นักเขียนนักคิดผู้พิการทางสายตาและการได้ยินที่เขียนขึ้นหลังจากได้ “ฟัง” ซิมโฟนีหมายเลข 9 ของเบโธเฟน ผลงานสร้างสรรค์โดยศิลปินดาวรุ่งชาวอิสราเอล Ari Teperberg นำเสนอร่างกายที่ไวต่อประสาทสัมผัส เพื่อค้นหาภาษาที่ใช้สื่อสารอย่างไม่มีขอบเขต ไกลโพ้นความพิการและเปลี่ยวเหงา บนที่ที่ไม่คุ้นนี้ เราเติบโตบนเส้นทางไร้เสียงอันมืดมิดไปด้วยกันได้หรือไม่? วันเวลาจัดแสดง: 24 มีนาคม(18.00 น. , 20.00 น.) 25 มีนาคม(20.00 น.) สถานที่จัดแสดง: Function Room ชั้น 4 ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC ภาษา การแสดงแบบไม่มีบทพูด (มีตัวบทเป็นภาษาอังกฤษแปลไทยเล็กน้อย) เกี่ยวกับผู้สร้าง Ari Teperberg เกิดปี 1989 กรุงเยรูซาเล็ม เป็นศิลปินที่ทำงานสหศิลป์ ทั้งละครเวที เต้น โอเปร่า Object Theatre ศิลปะแสดงสด งานด้านเสียงและวิดีโอ ผลงานของเขาถูกจัดแสดงมาแล้วทั่วโลก ในปี 2014 Ari ชนะรางวัล ‘Stage Language’ เทศกาล Akko จากผลงานเรื่อง “I want to Dance, Kate!” Ari ได้รับรางวัล Jerusalem Foundation Prize เมื่อปี 2011 และล่าสุดเมื่อปี 2022 เขาได้ชนะรางวัล Rosenblum สำหรับศิลปินรุ่นใหม่ รายชื่อทีมงาน: ผู้สร้างงานและนักแสดง: Ari Teperberg นักแสดงร่วม: Gal Hochberg นักดนตรีและผู้สร้างงานร่วม: Avshalom Ariel ออกแบบเสียงและผู้สร้างงานร่วม: Tomer Damsky ออกแบบแสงและออกแบบลีลา: Omer Sheizaf | ปรับปรุงออกแบบแสง: Oded Komemi เครื่องแต่งกาย: Dor Frank ดูแลการแสดงในต่างประเทศ: as is presenting arts ถ่ายภาพ: Yair Meyuhas | ออกแบบภาพ: Harel and Maayan Studio การแสดงชิ้นนี้ผลงานผลิตร่วมระหว่าง Westfluegel Theatre เมืองไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี และเครือข่ายนักการละครอิสระแห่งอิสราเอล

I Say Mingalaba, You say Goodbye

by Jarunun Phantachat / จารุนันท์ พันธชาติ

Over 2,000 kilometers of border between Thai and Myanmar, and yet people from the two countries seem never to be allied, from what we were told in Thai history books. Commissioned by Kyoto Experiment 2022, Jarunun revisited her memories and collaborated with 4 Thai-Burmese actors to conceive a way of telling stories about the relationship between citizens of “neighboring” countries, to question the "grand narrative" by the people in power. Date & Time: 22 March(20.00 PM) 23 March(18.30 PM) 26 March(19.30 PM) Time: 75 minutes Venue: Sodsai Pantoomkomol Centre for Dramatic Arts Language: Thai, Burmese, English, French, Japanese and more Subtitles: Thai, Burmese, English About the Director: Jarunun Phantachat is an award-winning actor, playwright, director, and producer. She is the co-artistic director of B-Floor Theatre, the physical theatre group based in Bangkok. She has produced and performed in numerous B-Floor productions and toured internationally with the company to Japan, Singapore, Indonesia, South Korea, Denmark, and USA. Her noteworthy plays include “Lear and His 3 Daughters” which was named in the Top Ten Productions of the Decade by the Bangkok Post, and “Test of Endurance” which won Best Direction from the Thai Section of the International Association of Theatre Critics (IATC – Thailand) in 2015. Credits: Director and Playwright: Jarunun Phantachat Assistant Director and Dramaturg: Thanapol Virulhakul Production Designer: Surachai Petsangrot Multimedia Designer: Setthasiri Chanjaradpong Sound Designer: Kamonpat Pimsarn Light Designer: Palita Sakulchaivanich Costume Designer: Nicha Puranasamriddhi Stage Manager: Nasrey Labaideeman Technical Director: Kronchai Meevong Producer: Peangdao Jariyapun Poster Designer: Kajit Pramsukdee Performers: Paopoom Chiwarak, Beer Yingsuwannachai, Thongchai Pimapunsri, Nyoma Produced by KYOTO EXPERIMENT 2022 ________________________ แม้ไทยจะมีพรมแดนติดกับเมียนมาร์มากกว่า 2,000 กิโลเมตรและมีประวัติศาสตร์ร่วมกันยาวนานเป็นพันปี แต่ภาพจำของประเทศเมียนมาร์กลับหยุดอยู่ที่ตำราประวัติศาสตร์ได้บอกเรามา จากขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยที่ผลิบานและรุนแรงตลอดหลายปี จารุนันท์จึงอยากเล่าเรื่องราวของทั้ง 2 ประเทศอีกครั้ง เธอหวนกลับไปขุดค้นประสบการณ์ส่วนตัวและทำงานร่วมกับนักแสดงไทยและเมียนมาร์ 4 คน เพื่อนำเสนอความสัมพันธ์ของ “ประเทศเพื่อนบ้าน” ในแบบที่มันเป็น น่าจะเป็น และอาจจะเป็น พร้อมตั้งคำถามถึง “เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ชุดหลัก” ที่เขียนโดยผู้ที่ “ถือครองอำนาจ” ผลงานชิ้นนี้ได้รับทุนสร้างสรรค์จากเทศกาลศิลปะทดลองเกียวโต ปี 2022 และจัดแสดงครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมที่เมืองเกียวโต วันเวลาจัดแสดง: 22 มีนาคม(20.00 น.) 23 มีนาคม(18.30 น.) 26 มีนาคม(19.30 น.) ระยะเวลา: 75 นาที สถานที่จัดแสดง: ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ภาษา: ไทย, เมียนมาร์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอื่นๆ Subtitle: ไทย, เมียนมาร์, อังกฤษ เกี่ยวกับผู้กำกับ: จารุนันท์ พันธชาติ ศิลปินศิลปาธรปี 2557 และเป็น Artistic Director ประจำกลุ่มละคร B-Floor ผลงานแสดงและอำนวยการแสดงที่จารุนันท์ร่วมผลิตกับกลุ่มละครได้เดินทางไปจัดแสดงมาแล้วในหลายประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เดนมาร์ก และสหรัฐอเมริกา ผลงานกำกับการแสดงของจารุนันท์ที่ผ่านมา ได้แก่ “Lear and His 3 Daughters” การแสดงที่ติดอันดับท็อป 10 ของทศวรรษได้รับเลือกโดยบางกอกโพสต์ และ “Test of Endurance” ที่ชนะรางวัลกำกับดีเด่นจากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (IATC) ในปี 2015 รายชื่อทีมงาน: เขียนบทและกำกับการแสดง: จารุนันท์ พันธชาติ ผู้ช่วยผู้กำกับและดรามาเติร์ก: ธนพล วิรุฬหกุล นักแสดง: เผ่าภูมิ ชิวารักษ์, เบียร์ ยิ่งสุวรรณชัย, ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี, เนียวมา ออกแบบโปรดักชั่น: สุรชัย เพชรแสงโรจน์ ออกแบบมัลติมีเดีย: เศรษฐสิริ ชาญจรัสพงศ์ ออกแบบเสียง: กมลพัชร พิมสาร ออกแบบแสง: ปาลิตา สกุลชัยวานิช ออกแบบเครื่องแต่งกาย: ณิชา บูรณะสัมฤทธิ์ กำกับเวที: นัสรี ละบายดีมัญ ควบคุมงานเทคนิค: กรชัย มีวงศ์ โปรดิวเซอร์: เพียงดาว จริยะพันธุ์ ออกแบบโปสเตอร์: ขจิต เปรมสุขดี อำนวยการผลิตโดย KYOTO EXPERIMENT 2022

bottom of page