top of page

BIPAM2018 OPENING/ Why does SEA need a performing arts meeting? [Networking/Panel]

พิธีเปิด BIPAM 2018 และเสวนาพิเศษหัวข้อ"ทำไมต้องมีการประชุมเกี่ยวกับศิลปะการแสดงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"


15 November, 2018 at 18:00 hrs

15 พฤศจิกายน 2561 เวลา 18:00 น.


Venue: Auditorium 5th Floor, Bangkok Art and Culture Center (BACC) [click for map] สถานที่: ออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร [คลิกเพื่อดูแผนที่]

You are cordially invited to BIPAM2018 opening ceremony!

BIPAM 2018 มีความยินดีที่จะเชิญทุกท่านเข้าร่วมพิธีเปิดของเรา


Gather up to meet other BIPAM2018 participants and special guests in the performing arts scene of Bangkok. Mingle with BIPAM folks while enjoying our delightful catering. Then, join BIPAM2018's special panel discussion:

เตรียมพบกับผู้เข้าร่วมและแขกพิเศษที่มีส่วนผลักดันวงการศิลปะการแสดงในกรุงเทพมหานครในพิธีเปิด BIPAM 2018 ร่วมพูดคุยกับเราภายใต้บรรยากาศและการดูแลที่เต็มไปด้วยความสุขสนุกสนาน และอย่าพลาดกับการสนทนาอธิปรายสุดพิเศษในหัวข้อ


Why Does Southeast Asia Need a Performing Arts Meeting? ทำไมต้องมีการประชุมด้านศิลปะการแสดงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Panelists:

Pawit Mahasarinand (Thailand)

June Tan (Malaysia)

ผู้เสวนา

ปวิตร มหาสารินันทน์ (ไทย)

จูน ทัน (มาเลเซีย)


Moderated by BIPAM2018 Artistic Director, Sasapin Siriwanij (Thailand) ดำเนินรายการโดย ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ อาร์ทิสติกไดเร็กเตอร์ BIPAM 2018



ABOUT the speakers:


Pawit Mahasarinand is Director of Bangkok Art and Culture Centre (BACC), the hub of Bangkok Art Biennale (BAB), Bangkok Theatre Festival (BTF) and Bangkok International Children Theatre Festival (BICTfest) in addition to more than 400 cultural events attended by more than 1.5 million audiences annually.

Previously at the Sodsai Pantoomkomol Centre for Dramatic Arts, he worked with foreign embassies and cultural institutions in presenting contemporary dance and theatre performances, workshops and lectures by artists from several countries and disciplines, including Pichet Klunchun and Myself, Democrazy Theatre Studio’s Happy Hunting Ground, Hamlet by Shakespeare’s Globe, Compagnie Non Nova’s P.P.P., Pascal Rambert’s Love’s End and A (Micro) History of World Economics (danced) and Oriza Hirata’s Sayonara, Metamorphosis (Android Version) and Bangkok Notes.

The first president of the International Association of Theatre Critics’ (IATC) Thailand centre, Pawit was critic-in-residence at the Festival/Tokyo 2011, Asia Pacific Dance Festival 2015 and City Contemporary Dance Festival 2017. Awarded “chevalier de l’ordre des arts et des lettres” by France’s Ministry of Culture and Communication, he was a member of the Southeast Asia Advisory Committee (SEAAC) for Taiwan’s Ministry of Culture. ปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) และข้าราชการบำนาญ สังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจารณ์ละครเวทีและนาฏศิลป์ของหนังสือพิมพ์ “The Nation” (ตั้งแต่ปี 2544) ที่ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ได้ร่วมงานกับสถานทูตและองค์กรวัฒนธรรมหลายประเทศจัดการแสดง การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และการบรรยายโดยศิลปินชาวฝรั่งเศส อิสราเอล ญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี ไต้หวัน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ละครเวทีเรื่อง Hamlet โดยคณะ Shakespeare’s Globe (2558) # กิน ฿ อยู่ € คือ ? (มีเต้นด้วย) ของ Pascal Rambert (2559) Bangkok Notes สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ ของ Oriza Hirata (2560) เป็นต้น

ประธานคนแรกของชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (International Association of Theatre Critics—Thailand Centre) ได้รับเชิญให้ไปเป็นนักวิจารณ์ประจำ (critic-in-residence) เทศกาลFestival/Tokyo (2554) Asia Pacific Dance Festival ที่ฮาวาย (2558) และ City Contemporary Dance Festival ที่ฮ่องกง (2560) ได้รับเหรียญอิสริยาภรณ์สาขาศิลปศาสตร์และอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน จากกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสาร ประเทศฝรั่งเศส (2557) K-Fellowship: Invitation for Leading Figures in Culture and the Arts จากกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ประเทศเกาหลีใต้ (2558) และเป็นกรรมการที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไต้หวัน


June Tan is a biologist from Imperial College, London and a member of the performing arts collective Five Arts Centre (Malaysia). Since 1997, June has stage-managed, tour-managed, and produced numerous local and international productions. She is interested in understanding systems and in facilitating space for difference, for discussion, and models for art making. This is seen in her initiation for platforms such as Tiga for emerging practitioners, and her programming at KOTAK, an independent arts space in Kuala Lumpur. June examined the idea of platforms and producing in a series of panels at TPAM in Yokohama in 2018 and hopes to carry on this discussion during BIPAM. In addition, June has written scripts for the stage, TV and several Malaysian feature films. June Tan is BIPAM2018's guest curator who brings the Southeast Asian Producers' Network to Bangkok this year.

จูน ทัน นักชีววิทยาจากวิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน (Imperial College, London) และสมาชิก Five Arts Centre ประเทศมาเลเซีย เธอเป็นโปรดิวเซอร์และจัดการแสดงทั้งในและต่างประเทศมากมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ด้วยความสนใจเรื่องระบบและการสร้างพื้นที่ให้แก่ความแตกต่าง การสนทนา และรูปแบบต่างๆ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ จูน ทัน ได้ริเริ่มจัดแพลตฟอร์มอย่าง Tiga ซึ่งเป็นเวทีสำหรับคนทำงานศิลปะรุ่นใหม่ และยังเป็นผู้จัดวางโปรแกรมของพื้นที่ศิลปะ KOTAK ในกรุงกัวลาลัมเปอร์อีกด้วย ใน TPAM 2018 ที่เมืองโยโกฮามา เธอได้จัดหัวข้อเสวนาเกี่ยวกับแนวคิดในการโปรดิวซ์และการสร้างพื้นที่ในการพูดคุย และในฐานะภัณฑารักษ์รับเชิญใน BIPAM2018 เธอก็จะดำเนิบทสนทนาในหัวข้อดังกล่าวต่อเนื่องมาถึง BIPAM ที่กรุงเทพด้วย นอกจากนี้ จูน ทัน ยังเป็นนักเขียนบทการแสดง รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ของมาเลเซียอีกหลายเรื่องด้วย

Comments


bottom of page