Singapore
Bhumi Collective, Yellow Chair Productions
Shai is a creative producer and arts educator. He is the Joint Artistic Director of producing & multidisciplinary performing arts company, Bhumi Collective. He is a graduate of the MA in Creative Producing (Distinction) programme at the Royal Central School of Speech and Drama. He is also currently an adjunct lecturer on the BA in Arts Management programme at LASALLE College of the Arts and an Organising Member of Producers SG. Prior to this, he was the Founding Artistic Director of community theatre group, Yellow Chair Productions.
Shai enjoys working with artists who make art collaboratively across mediums, with a view towards transnational collaborations that break borders and barriers in art-making. He believes strongly in arts education and provides mentoring and development opportunities for emerging performing arts producers. He is also a TEDx speaker, having spoken at TEDxRoyalCentralSchool on the topic, “Diversifying, Diversity: Tomorrow’s Theatre Today”. He has produced work in Singapore, Malaysia and the UK and is currently developing new cross-border projects with artists and producers from New Zealand, Australia and Taiwan.
Shai เป็นทั้งโปรดิวเซอร์ครีเอทีฟและเป็นนักการศึกษาด้านศิลปะ รวมถึงเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของบริษัท Bhumi Collective ที่ผลิตงานสร้างสรรค์และงานศิลปะการแสดงแบบหลากหลายสาขา (multidisciplinary) เขาสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีจาก Creative Producing (Distinction) programme ที่ Royal Central School of Speech and Drama
ปัจจุบัน Shai ทำงานเป็นอาจารย์ผู้ช่วยในหลักสูตรปริญญาตรี Arts Management programme ที่ LASALLE College of Arts และเป็นสมาชิกผู้จัดงานของ Producers SG ก่อนหน้านี้ เขารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของกลุ่มชุมชนละคร Yellow Chair Productions
Shai สนุกกับการทำงานร่วมกับศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะแบบผสมผสานข้ามสื่อที่หลากหลาย ด้วยวิสัยทัศน์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่ทะลายพรมแดนและกำแพงอุปสรรคในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เขาเชื่อมั่นอย่างมากในการศึกษาด้านศิลปะ การให้คำปรึกษา และโอกาสในการพัฒนาสำหรับการสร้างโปรดิวเซอร์ในสายศิลปะการแสดง Shai เคยเป็นวิทยากรของ TEDx และเคยพูดในงาน TEDxRoyalCentralSchool ในหัวข้อ “Diversifying, Diversity: Tomorrow’s Theatre Today” มากไปกว่านั้น เขาเคยผลิตงานทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และในสหราชอาณาจักร และปัจจุบันกำลังพัฒนาโครงการข้ามพรมแดนร่วมกับศิลปินและผู้อำนวยการสร้างจากนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และไต้หวันอีกด้วย
Creative Producer / Arts Educator / Artistic Director / Founding Artistic Director
Shaifulbahri Mohamad
BHUMI
Format: Performance Trailer
Length: 1 minute
รูปแบบ: ตัวอย่างการแสดง
ความยาว: 1 นาที
The project I'm sharing brings me back to the beginning of the career chapter I'm currently on. It comes from the project, bhumi, which also coincides with the origins of our company, Bhumi Collective. Prior to this, my producing practice was purely in theatre, mostly text-based work. bhumi was the first full-length project I worked on that involved not only dance but a more multi and interdisciplinary approach to performance-making. The team was able to present the work at the Edinburgh Festival Fringe and our team was made up of artists from Singapore and the UK. In a way, the project set the tone for our ways of working and approaches while also building the foundations for the pillars, values and philosophies that drive Bhumi Collective today.
"Home. Singapore. Departure. Arrival. London. Home.”
bhumi takes a traditional dance form and works with contemporary dancers – what happens when a form that is strict and rigid collides with one that is abstract and fluid? Defying traditional Malay dance performative norms, bhumi does not use typical exotic costumes or follow a cultural exhibition format.
bhumi (Sanskrit for earth or soil) is a multi-disciplinary theatrical performance by a collective of Singaporean and British artists based in London at the crossroads of their artistic identity, wrangling with questions about traditions, race, culture and identity while living a contemporaneous lifestyle in a home away from home.
bhumi seeks to address the question of “What does it mean to be Melayu (Malay)?” in this rapidly changing cosmopolitan age where race, culture, religion and nationality are becoming increasingly integrated and blurred at the same time.
Are age-old Malay adages still relevant to a young Malay individual living his/her youth in a place called home away from home? Is the spirit of gotong-royong alive in the boroughs of London? How does the Malay boy fit in a city abuzz with its diverse transnational citizenry? Amidst all these new memories to be made, is the shared collective memory of his people before him, merely a wave of Malay nostalgia?
bhumi was first presented at theSpace@Niddry Street as part of the Edinburgh Festival Fringe from 16-27th August 2016."
โปรเจ็คที่ผมกำลังแบ่งปันนี้ทำให้ผมกลับไปสู่จุดเริ่มต้นเรื่องราวของเส้นทางอาชีพที่ผมกำลังทำ ทุกอย่างเริ่มมาจากโปรเจ็ค bhumi ซึ่งถูกสร้างขึ้นพร้อมกับเกิดขึ้นของบริษัท Bhumi Collective ของเรา ก่อนหน้านี้การผลิตงานของผมทำโดยผ่านละครเวทีอย่างเดียวเท่านั้นและส่วนใหญ่เป็นผลงานจากบทละคร ดังนั้น bhumi จึงเป็นโปรเจ็คแรกที่ผมทำงานและได้จัดแสดงแบบเต็มเรื่อง โดยที่ไม่ได้เกี่ยวกับข้องกับแค่การเต้นเท่านั้น แต่ยังมีการรวมศิลปะหลายแขนงและหลากหลายวิธีการในกระบวนการสร้างสรรค์งานแสดงเข้าด้วยกัน ทีมงานได้แสดงผลงานนี้ที่ Edinburgh Festival Fringe และทีมงานนี้ประกอบด้วยศิลปินจากทั้งสิงคโปร์และสหราชอาณาจักร ในทางหนึ่ง โปรเจ็คได้กำหนดโทนในแนวทางการทำงานและในขณะเดียวกันก็สร้างรากฐานสำหรับเสาหลัก ค่านิยม และปรัชญา ที่ล้วนขับเคลื่อน Bhumi Collective จนถึงปัจจุบัน
“บ้าน. สิงคโปร์. ออกเดินทาง. มาถึง. ลอนดอน. บ้าน”
bhumi ใช้รูปแบบการเต้นดั้งเดิมและทำงานกับนักเต้นร่วมสมัย - อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรูปแบบที่เข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นมาปะทะกับรูปแบบที่เป็นนามธรรมและลื่นไหล? ในขณะที่ท้าทายบรรทัดฐานการแสดงนาฏศิลป์มาเลย์ bhumi จึงไม่ได้ใช้ชุดแสดงแปลกตาแบบปกติหรือทำตามรูปแบบการแสดงนิทรรศการวัฒนธรรม
bhumi (ภาษาสันสกฤตแปลว่า โลก พื้นดิน หรือ ดิน) เป็นการแสดงละครเวทีที่ผสมผสานศิลปะหลากหลายแขนงไว้ด้วยกัน สร้างโดยกลุ่มศิลปินชาวสิงคโปร์และชาวอังกฤษที่อาศัยในลอนดอนซึ่งเป็นจุดตัดของทั้งเอกลักษณ์ทั้งศิลปะของพวกเขา จุดประเด็นคำถามเกี่ยวกับประเพณี เชื่อชาติ วัฒนธรรม และตัวตนเอกลักษณ์ในขณะที่ใช้ชีวิตแบบร่วมสมัยในบ้านอีกหลังที่ห่างไกลจากบ้าน
bhumi พยายามตอบคำถาม “การเป็นมลายู (มาเลย์) หมายความว่าอย่างไร ?” ในยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และสัญชาติ กำลังผสานกลมกลืนกันมากขึ้นและพร่ามัวไม่ชัดเจนในเวลาเดียว
ภาษิตเก่าแก่ของมลายูยังคงสัมพันธ์กับเหล่าหนุ่มสาวชาวมาเลย์แต่ละคนที่อาศัยในที่ที่เรียกว่าบ้านแต่ห่างไกลจากบ้านไหม? จิตวิญญาณของ Gotong-royong ยังมีชีวิตอยู่ในเขตเล็ก ๆ ในเมืองลอนดอนหรือเปล่า? เด็กชายมาเลย์คนหนึ่งปรับตัวเข้ากับเมืองที่เต็มไปด้วยพลเมืองข้ามเชื้อชาติที่หลากหลายนี้ได้อย่างไร? ท่ามกลางความทรงจำใหม่ ๆ ที่จะถูกสร้างขึ้น ความทรงจำร่วมจากบรรพบุรุษของเขาจะกลายเป็นเพียงคลื่นกระเพื่อมเล็ก ๆ ในห้วงความคิดถึงมาเลย์เท่านั้นหรือ?
bhumi แสดงครั้งแรกที่ theSpace @ Niddry Street ในฐานะส่วนหนึ่งของงาน Edinburgh Festival Fringe ระหว่างวันที่ 16-27 สิงหาคม 2016